AWC ประเมินและทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทดำเนินการสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและทิศทางการเติบโตของบริษัทโดยพิจารณาบริบทองค์กร ความคาดหวังจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แนวโน้มและทิศทางความยั่งยืนที่เกิดขึ้นในโลก ตลอดจนความเสี่ยงและโอกาสที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วางแผน และการดำเนินโครงการด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการ ติดตามผลการดำเนินการตามกลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาวที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ในระยะยาว ทั้งนี้ AWC ได้นำมาตรฐานสากล อาทิ มาตรฐานการรายงาน ระดับสากล (Global Reporting Initiative: GRI) มาตรฐาน AA1000 Accountability Principles (2018) และ S&P Global Corporate Sustainability Assessment มาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการประเมินประเด็นสาระสำคัญเพื่อให้กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำประเด็นสาระสำคัญขอรับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความยั่งยืน และคณะผู้บริหาร (MACO) เป็นประจำทุกปี เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อบรรลุพันธกิจที่จะ "สร้างสรรค์อนาคตที่ดีกว่า" โดยรายละเอียดขั้นตอนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนมี ดังนี้

กระบวนการประเมินสาระสำคัญ

Materiality
Identification
Process

Materiality matrix

จากการประเมินสาระสำคัญที่อธิบายไว้ในหัวข้อก่อนหน้านี้ ทำให้ทราบ “ผลการประเมินสาระสำคัญ” ที่แสดงให้เห็นถึงระดับความสำคัญของประเด็นสาระสำคัญของบริษัท ซึ่งพิจารณาจากความสำคัญต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและความสำคัญต่อบริษัทแล้วนำแต่ละประเด็นมาจัดลำดับความสำคัญ

ในการขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กร บริษัทยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณ นำการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศมาเป็นหัวใจหลักในการดำเนินการด้านความยั่งยืนในระยะยาว และใช้การบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันประเด็นสาระสำคัญอื่น ๆ ก็จะถูกนำมาพิจารณา เพื่อเสริมสร้างความสามารถของบริษัท และส่งมอบการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด

AWC Materiality Issue and KPI

ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เป้าหมายภายในปี 2573 ผลการดำเนินงานทำสำคัญ เป้าหมาย UNSDGs
การสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม
การจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (ขอบเขตที่ 1 และ 2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขตที่ 1 และ 2) ได้ 11.7% ต่อหน่วยรายได้ เมื่อเทียบกับปี 2565
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การลดการใช้ปริมาณน้ำต่อหน่วยรายได้ลง ร้อยละ 20 ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยรายได้เพิ่มขึ้น 26.28% เมื่อเทียบกับปี 2565
การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดการขยะและของเสียด้วยวิธีฝังกลบ จากทรัพย์สินดำเนินงานให้เป็นศูนย์ อัตราการนำของเสียไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้เพิ่มขึ้น 17.94%
ความหลากหลายทางชีวภาพ ร้อยละ 100 ของโครงการมีการสร้าง ผลกระทบเชิงบวกสุทธิด้านความหลากหลาย ทางชีวภาพ จำนวนต้นไม้ที่ปลูกและอนุรักษ์ไว้ในทรัพย์สินของ AWC เพิ่มขึ้น 738 ต้น ส่งผลให้มีจำนวนต้นไม้สะสมทั้งหมด 8,831 ต้น
การสร้างคุณค่าด้านสังคม
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ร้อยละ 100 ของตำแหน่งสำคัญมีผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีความพร้อมทันที มีผู้สืบทอดตำแหน่งสำคัญพร้อมที่จะเข้ามารับช่วงต่อแล้ว 72%
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย อัตราอุบัติเหตุจากการดำเนินงานต่อ การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรเป็นศูนย์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์
การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สร้างความผูกพันกับชุมชนใหม่ในพื้นที่ โครงการจำนวน 240 ชุมชนและทุกกลุ่ม ธุรกิจส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสำหรับผู้คนและสังคมผ่านการจัดทำโครงการสำคัญ ในปี2573 ด้วยอัตราผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) 21.5 ดำเนินการสำรวจชุมชนและตั้งค่าฐานข้อมูลผลตอบแทนทางสังคม (SROI)
การสร้างคุณค่าและการกำกับดูแลกิจการเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
การกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้รับรางวัลระดับ 5 (5 Gloden arrow recognition) จากคะแนนการประเมินการ กำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนใน ภูมิภาคอาเซียน (ACGS: ASEAN Corporate Governance Scorecard) ได้รับการยอมรับในประเภทบริษัทจดทะเบียนใน ASEAN Asset Class PLCs(ACGS) ปี 2564 (ในช่วงปี 2565-2566 การประเมิน ACGS ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากมีการปรับปรุงเกณฑ์ บริษัทกำลังเตรียมพร้อมสำหรับแนวทางใหม่สำหรับปี 2567)
การสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน รายได้เฉลี่ยของพนักงาน AWC สูงกว่า รายได้เฉลี่ยของท้องถิ่น ดำเนินการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และตั้งค่าการวัดเชิงปริมาณและฐานข้อมูลเบื้องต้น

ประเด็นที่สำคัญส่งผลกระทบต่อการสร้างมูลค่าของบริษัท

ผลการประเมินประเด็นความสำคัญในปี 2566 เน้นประเด็นที่มีผลกระทบต่อทั้งผลลัพธ์ทางสังคม/สิ่งแวดล้อมรวมไปถึงผลการดำเนินงานทางการเงิน ประเด็นเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์องค์กรและเป้าหมายของเรา อีกทั้งยังเป็นแรงขับเคลื่อนกรณีทางธุรกิจและกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ บริษัทมีการประเมินผลกระทบและกลยุทธ์สำหรับประเด็นที่สำคัญ 3 ประเด็นหลัก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประเด็นที่สำคัญจากปีที่ผ่านมา ดังนี้

ประเด็นที่ 1 : กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กรณีทางธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญสำหรับ AWC โดยสร้างทั้งความเสี่ยงทางกายภาพและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและนโยบายระดับประเทศ รวมถึงภัยธรรมชาติ (เช่น น้ำท่วมหรือพายุ) ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและบริการของ AWC ซึ่งอาจนำไปสู่การหยุดชะงักของธุรกิจ จากการประชุม CoP 28 มีความพยายามอย่างจริงจังในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกให้น้อยกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ประเทศไทยยังได้มุ่งมั่นที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 และสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 ความล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายระดับโลกอาจส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น รวมถึงการขาดแคลนน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของ AWC รวมถึงชีวิตของสังคม ที่อาจจะนำไปสู่เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับ AWC ในการซ่อมแซมความเสียหายและติดตั้งระบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

ผลกระทบ

ความเสี่ยง

กลยุทธ์

ด้วยความมุ่งมั่นของ AWC ในการเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 บริษัทจึงได้กำหนดกลยุทธ์และนวทางปฏิบัติดังนี้:

  1. ออกแบบอาคารที่ช่วยลดการใช้พลังงาน
  2. การเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานแบบวงจร
  3. การออกแบบโครงการที่สร้างคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม
  4. การเพิ่มและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว
  5. การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและวิธีการบริหารจัดการอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแนวคิดอาคารเขียว

และเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ AWC ยังคงดำเนินการริเริ่มโครงการประหยัดพลังงานในระบบทำความร้อน ระบายอากาศ ไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอน อีกทั้งยังกำหนดให้มีมาตรฐานอาคารเขียว เช่น LEED, WELL, EDGE และ FITWEL และเพื่อเป็นการเน้นย้ำความพยายามอย่างต่อเนื่องของ AWC ในการลดการใช้ไฟฟ้าอาคาร ‘เอ็มไพร์’ ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานของ AWC ได้รับรางวัล "อาคารประหยัดพลังงานของ MEA" ผ่านโครงการประหยัดพลังงานของ AWC

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์กร เรื่องการขับเคลื่อนความยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยสอดคล้องกับการสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (Better Planet) ครอบคลุมประเด็นการใช้พลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 1 และ 2 ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและความยั่งยืน (CST) และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาโครงการ(CPD)

ประเด็นที่ 2 : การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

กรณีทางธุรกิจ

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นประเด็นสำคัญสำหรับ AWC เนื่องจากในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจหรือกายภาพ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นความท้าทายในการดึงดูดและรักษาบุคลากรระดับสูงภายในอุตสาหกรรม บริษัทจึงตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงทักษะที่มีอยู่ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาผู้นำภายในองค์กร เพื่อช่วยให้บุคลากรปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงได้ดียิ่งขึ้น และสามารถขับเคลื่อนภูมิทัศน์ทางธุรกิจใหม่ท่ามกลางความผันผวน ความไม่แน่นอน และความซับซ้อน รวมถึงเพื่อให้มั่นใจถึงความต่อเนื่องของธุรกิจในช่วงเวลาที่สำคัญ AWC ตระหนักว่าพนักงานเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดของบริษัท และมุ่งมั่นที่จะให้โอกาสและริเริ่มโครงการต่าง ๆ ให้แก่พนักงานในการนำเสนอไอเดียและเติบโตควบคู่กับบริษัท การทำเช่นนี้จะสนับสนุนความสามารถของ AWC ในการดึงดูดและรักษาบุคลากรระดับสูง ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ขับเคลื่อนหลักออกจากบริษัทอย่างฉับพลัน ทำให้องค์กรสามารถดำเนินงานต่อไปได้และลดการสูญเสียรายได้ที่อาจเกิดขึ้น

ผลกระทบ

รายได้

กลยุทธ์

AWC ได้จัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resource Strategy) ที่ประกอบด้วย การพัฒนาองค์กร (Organization Development) การสรรหาบุคลากร (Talent Acquisition) การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) การบริหารค่าตอบแทน (Total Rewards) การเรียนรู้และการพัฒนา และการบริหารผู้มีศักยภาพสูง (Learning & Development, and Talent Management)การพัฒนาภาวะผู้นำและการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง(Leadership & Succession Planning) โดยมีแผนการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรบุคคลดังต่อไปนี้

  1. เสริมสร้างการวางแผนและการบริหารสืบทอดตำแหน่งเพื่อระบุและพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งที่พร้อมรับบทบาทผู้ขับเคลื่อนหลักภายในหนึ่งปี โดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสรรหาและการพัฒนาภายใน
  2. พัฒนาผู้บริหารและผู้จัดการเพิ่มเติมผ่านโปรแกรมพัฒนาผู้นำ และเสริมสร้าง DNA ของผู้นำ AWC ในทุกระดับ

เพื่อยกระดับการพัฒนาทักษะโดยรวม AWC อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในและระหว่างแผนก มีนโยบายสนับสนุนพนักงานในการวางแผนและก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ ต้องการให้พนักงานสร้างแผนการพัฒนาส่วนบุคคลเพื่อยกระดับบทบาทปัจจุบันและเตรียมพร้อมสำหรับตำแหน่งในอนาคต และเสนอโปรแกรมการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์กร เรื่องการขับเคลื่อนความยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยสอดคล้องกับการสร้างคุณค่าด้านสังคม (Better People) ครอบคลุมเรื่องตำแหน่งสำคัญมีผู้สืบทอดตำแหน่งที่มีความพร้อมทันทีซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหัวหน้าคณะสายงานทรัพยากรบุคคล(CPO)

ประเด็นที่ 3 : การใช้พลังงานหมุนเวียน

กรณีทางธุรกิจ

เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนเป็นประเด็นสำคัญสำหรับ AWC เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจและวิถีชีวิตที่จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการผลิตขยะและการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการลดลงและเสื่อมสภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศ AWC ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับตัวไปสู่เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนเพื่อให้บริการลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพในขณะที่ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม AWC สร้างขยะและการใช้ทรัพยากรจำนวนมากในระหว่างการก่อสร้างและพัฒนาโครงการ รวมถึงขยะอาหารและขยะทั่วไปจากการดำเนินงานของโรงแรม ซึ่งต้องใช้วิธีการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพตลอดทั้งการดำเนินงาน การนำแนวปฏิบัติเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนมาใช้จะช่วยให้ AWC ดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้ต่อไป ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกินความจำเป็น ลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาวสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

ผลกระทบ

ความเสี่ยง

กลยุทธ์

เพื่อประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน AWC ได้ตั้งเป้าที่จะบรรลุเป้าหมายขยะฝังกลบเป็นศูนย์ภายในปี 2573 และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้บริษัท จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแบบจำลองธุรกิจของเราจากแบบเชิงเส้นไปเป็นแบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ซึ่งวัสดุทั้งหมดที่ใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจจะต้องถูกนำกลับมาใช้ซ้ำ ลดการใช้ น้ำกลับใช้ใหม่ รีไซเคิล และออกแบบใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน บริษัทจึงริเริ่มโครงการโครงการ ReConcept เป็นโครงการในการซ่อมแซม ปรับปรุง และนำเฟอร์นิเจอร์ของสะสม และเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่ากลับมาใช้ใหม่ ช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ และประกาศให้พนักงานใช้กระบวนการทำงานลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดการใช้กระดาษ อีกทั้งยังริเริ่มโครงการไบโอดีเซลเห็นการเปลี่ยนแปลงน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้วให้กลายเป็นพลังงานสะอาด นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับ "มูลนิธิสโกลารส์ออฟซัสทีแนนซ์ หรือ SOS Thailand" มูลนิธิกู้ภัยอาหารแห่งแรกของประเทศ และ "อิคิไก (Ikigai)" ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนของห่วงโซ่อาหารด้วยโมเดลธุรกิจสร้างสรรค์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาขยะอาหาร AWC ใช้ประโยชน์จากความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน ร่วมมือกับพันธมิตร และเลือกใช้วัสดุที่ทนทานและรีไซเคิลได้เพื่อลดการบริโภคและขยะที่ถูกส่งไปฝังกลบ

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์กร เรื่องการขับเคลื่อนความยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยสอดคล้องกับการสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม (Better Planet) ครอบคลุมเรื่อง ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อหน่วยผลิตหรือบริการ ปริมาณขยะที่ไม่เป็นอันตรายที่ถูกกำจัดหรือรีไซเคิล และปริมาณขยะอันตรายที่ถูกฝังกลบจากระยะการดำเนินงานและการก่อสร้าง ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและความยั่งยืน (CST) หัวหน้าฝ่ายพัฒนาโครงการ(CPD) และหัวหน้าคณะสายงานบริหารกลาง(CCO)

AWC เน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมจากทุกหน่วยงานและการบรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สำคัญ บริษัทจึงให้สิทธิประโยชน์ทางการเงินแก่พนักงานและคณะกรรมการบริหารที่บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมทั้งการสร้างคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างคุณค่าด้านสังคม และการสร้างคุณค่าและการกำกับดูแลกิจการเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน หรือ 3BETTERS คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่ขับเคลื่อนแนวทางเชิงกลยุทธ์ ตรวจสอบการดำเนินงาน เพื่อรับรองได้ว่าบริษัทจะสามารถบรรลุเป้าหมายระยะยาวภายในปี 2573

ประเด็นสำคัญมีผลต่อการประเมินมูลค่าสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม AWC ได้ก่อตั้ง The GALLERY เป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่มีเป้าหมายในการมีส่วนร่วมกับชุมชน ศิลปินท้องถิ่น และนักเรียน เพื่อผลิตสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่นและจำหน่ายผ่านร้านค้าของ GALERY ทั่วประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและยกระดับโครงการเพื่อและสนับสนุนคนชุมชน สอดคล้องกับปรัชญาของบริษัท "สร้างอนาคตที่ดีกว่า" เน้นให้เกิดคุณค่าสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอก อาทิ ชุมชนและคนในท้องถิ่น โดย AWC จะประเมินและติดตามผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการนี้ เช่น การเพิ่มคุณภาพชีวิต จำนวนตำแหน่งงานที่เพิ่มขึ้น และจำนวนคนท้องถิ่นที่มีการพัฒนาฝีมือ เพื่อให้แน่ใจว่า AWC เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสวัสดิการชุมชน สร้างโอกาสท้องถิ่น และเพิ่มรายได้ครัวเรือน และเพื่อติดตามประสิทธิผลของโครงการสำคัญของชุมชนนี้ AWC ได้ดำเนินการประเมินผลกระทบทางสังคมต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมในแง่ของการเพิ่มรายได้ครัวเรือน/บุคคล และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน โดยยึดตามมาตรฐานและข้อมูลอ้างอิงดังต่อไปนี้

ประเด็นสำคัญ ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ประเภทของผลกระทบ การประเมินผลกระทบ ผลลัพธ์จากการประเมินผลกระทบและตัวชี้วัดผลกระทบ อ้างอิง
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
  • การดำเนินงาน
  • ผลิตภัณฑ์/บริการ
  • ห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุม มากกว่า 50% ของกิจกรรมทางธุรกิจ
จำนวนคนท้องถิ่นและรายได้ของชุมชนที่ได้รับจาก The GALLERY
การเพิ่มจำนวนรายได้ต่อครัวเรือน ผลกระทบทางสังคม: 168 ชุมชน 2,586 คนท้องถิ่น และ 22 ศิลปินที่ได้มีส่วนร่วมกับ เดอะ แกลเลอรี่ และจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์ให้กับ The GALLERY ในปี 2566 มูลค่า 2,223,907 ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จของโครงการในการสร้างรายได้และสนับสนุนชุมชนและคนท้องถิ่น
  • IRIS, 2021. Earnings of Distributor Organizations: SME (PI2888). v5.2.
ค่าใช้จ่ายต่อผลกระทบทางสังคม ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม: การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการกระจายสินค้าไปยังสาขา The Gallery ซึ่งเทียบเท่ากับค่าใช้จ่ายต่อผลการะทบทางสังคมของปล่อยก๊าซคาร์บอนมูลค่ารวม 26,390 บาทในปี 2566
ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ผลกระทบทางสังคม: The Gallery Flagship Stores มีผลกระทบทางสังคมที่เป็นบวก โดยมีอัตราผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เท่ากับ 5.3
  • IRIS, 2021. Earnings of Distributor Organizations: SME (PI2888). v5.2.

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังเป็นภัยคุกคามสำคัญทั่วโลก และหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกพยายามอย่างจริงจังในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่สูงขึ้น ความถี่และความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียชีวิต การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาวะอากาศร้อนจัดที่อาจเป็นอันตรายต่อคนงานก่อสร้างโดยเฉพาะการก่อสร้างและการดำเนินงานของอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง ดังนั้นกลยุทธ์ด้านเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของ AWC จึงมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2573 โดยเน้นการประหยัดพลังงาน การผนวกพลังงานหมุนเวียน และโครงการกักเก็บคาร์บอน รวมไปถึงการได้รับการรับรองจากมาตรฐานอาคารสีเขียว อาทิ LEED และ EDGE และการเพิ่มการลงทุนในเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และความร่วมมือในการปลูกป่าและการชดเชยคาร์บอน AWC ส่งเสริมการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปรับตัวให้เข้ากับการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในโครงการคาร์บอนต่ำ โดยมีแผนการดำเนินการที่มีตัวชี้วัดประสิทธิภาพมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดการใช้ทรัพยากร และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ในขณะเดียวกันก็ร่วมมือกันในโครงการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อติดตามผลลัพธ์ AWC ใช้ต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนในการประเมินผลกระทบของโครงการ ซึ่งคำนวณจากการลดการปล่อยมลพิษทั้งหมด

ประเด็นสำคัญ ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ประเภทของผลกระทบ การประเมินผลกระทบ ผลลัพธ์จากการประเมินผลกระทบและตัวชี้วัดผลกระทบ อ้างอิง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การดำเนินงาน
  • ผลิตภัณฑ์/บริการ ครอบคลุม มากกว่า 50% ของกิจกรรมทางธุรกิจ
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ต้นทุนทางสังคมที่หลีกเลี่ยงได้

ผลกระทบทางสังคม:

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4,506 ตันคาร์บอนเทียบเท่าในปี 2566
  • ลดต้นทุนทางสังคมของคาร์บอนได้จากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการประหยัดพลังงาน ส่งผลให้บรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อสังคมได้เทียบเท่ากับ 8,611,011 บาท ในปี 2566
มูลค่าสิ่งแวดล้อมที่สูญหาย / ได้รับ

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม:

  • ลดการใช้พลังงานได้ 6,948 เมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2566
  • ลดศักยภาพการทำให้โลกร้อนขึ้น (GWP): จากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4,506 ตันคาร์บอนเทียบเท่า ในปี 2566
ค่าใช้จ่ายต่อผลกระทบทางสังคม ผลกระทบทางสังคม: การเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางสังคมของคาร์บอน เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขตที่ 2) จากการดำเนินงานของ AWC 95,170.53 ตันคาร์บอนเทียบเท่า ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เทียบเท่ากับ 181,876,593.06 บาท ในปี 2566